เมนู

ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในระหว่างนี้ทรงพร่ำสอนเทวดา
มนุษย์ นาค และยักษ์ หรือทรงพิจารณาตลอดเวลา 45 ปี ได้ตรัสพระพุทธพจน์
ใดไว้ พระพุทธพจน์นั้นทั้งหมดมีรสอย่างเดียว คือมีวิมุตติเป็นรสเท่านั้น.
พระพุทธพจน์ ชื่อว่ามีอย่างเดียว ด้วยอำนาจรส ด้วยประการฉะนี้.
[

พระพุทธพจน์มี 2 อย่าง

]
พระพุทธพจน์ชื่อว่ามี 2 อย่าง ด้วยอำนาจธรรมและวินัยอย่างไร ?
คือ อันพระพุทธพจน์ทั้งหมดนี้นั่นแล ย่อมถึงการนับว่า พระธรรมและวินัย.
บรรดาธรรมและวินัยนั้น วินัยปิฎก ชื่อว่าวินัย. พระพุทธพจน์ที่เหลือชื่อว่า
ธรรม. เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระมหากัสสปได้กล่าวไว้แล้วว่า ผู้มีอายุ!
อย่ากระนั้นเลย พวกเราพึงสังคายนาธรรมและวินัย และว่า เราพึงถามพระวินัย
กะท่านอุบาลี พึงถามพระธรรมกะท่านอานนท์ ดังนี้. พระพุทธพจน์ ชื่อว่ามี
2 อย่าง ด้วยอำนาจธรรมและวินัย ด้วยประการฉะนี้
[

พระพุทธพจน์มี 3 อย่าง

]
พระพุทธพจน์มี 3 อย่าง ด้วยอำนาจปฐมะ มัชฌิมะ และปัจฉิมะ
อย่างไร ? คืออันที่จริง พระพุทธพจน์นี้ทั้งหมดนั่นแล แบ่งประเภทเป็น 3
คือ ปฐมพุทธพจน์ มัชฌิมพุทธพจน์ (และ) ปัจฉิมพุทธพจน์
บรรดาพระพุทธพจน์ 3 อย่างนั้น พระพุทธพจน์ว่า
เราแสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างผู้ทำเรือน
เมื่อไม่พบ ได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสาร มีความ
เกิดเป็นอเนก ความเกิดเป็นทุกข์ร่ำไป แนะ
นายช่างผู้ทำเรือน เราพบเจ้าแล้ว เจ้าจัก

สร้างเรือน (คืออัตภาพของเรา ไม่ได้อีก
ต่อไป ซี่โครงทั้งหมดของเจ้าเราหักเสียแล้ว
ยอดเรือน (คืออวิชชา) เรารื้อเสียแล้ว จิต
ของเราได้ถึงพระนิพพานมีสังขารไปปราศ
แล้ว เราได้บรรลุความสิ้นไปแห่งตัณหา
ทั้งหลาย1 แล้ว ดังนี้

นี้ชื่อว่าปฐมพุทธพจน์. อาจารย์บางพวกกล่าวถึงอุทานคาถาในขันธกะ
ว่า เมื่อใดแลธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ 2 ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่าปฐมพุทธพจน์.
ก็คาถานั้นเกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้บรรลุความเป็นพระสัพพัญญู ทรง
พิจารณาปัจจยาการ ในพระญาณอันสำเร็จด้วยโสมนัส ในวันปาฏิบท บัณฑิต
พึงทราบว่า อุทานคาถา. อนึ่ง พระพุทธเจ้าได้ตรัสพระดำรัสใด ในคราว
ปรินิพพานว่า ภิกษุทั้งหลายเอาเถิด บัดนี้เราขอเตือนเธอทั้งหลาย สังขาร
ทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงให้ถึงพร้อมด้วย
ความไม่ประมาทเถิด 3 นี้ชื่อว่าปัจฉิมพุทธพจน์.
พระพุทธพจน์ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในระหว่างแห่งกาลทั้ง 2
นั้น ชื่อว่ามัชฌิมพุทธพจน์. พระพุทธพจน์ชื่อว่ามี 3 อย่าง ด้วยอำนาจเป็น
ปฐมะ มัชฌิมะ และปัจฉิมะ ด้วยประการฉะนี้.
[

ปิฎก 3

]
พระพุทธพจน์ทั้งปวงเป็น 3 อย่าง ด้วยอำนาจแห่งปิฎกอย่างไร ?
ก็พระพุทธพจน์แม้ทั้งปวงมีอยู่ 3 ประการเท่านั้น คือพระวินัยปิฎก พระ-
สุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก. ใน 3 ปิฎกนั้น พระพุทธพจน์นี้คือ
1. ขุ. ธ. 25/35. 2. วิ. มหา 4/4. 3. ที. วิ. มหา.10/180